สกศ. ลงพื้นที่ปฏิบัติราชการภาคสนาม ในโครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูลสารสนเทศสำหรับประเมินผลและการวางแผนการศึกษา

image

สกศ.ลงพื้นที่ปฏิบัติราชการภาคสนาม ในโครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูลสารสนเทศสำหรับประเมินผลและการวางแผนการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบตัวชี้วัดและสร้างเครื่องมือสำหรับการประเมินและการจำแนกผู้เรียน สอดคล้องกับการส่งเสริมและการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญา ระหว่างวันที่ 19 – 20 กันยายน 2565 ณ จังหวัดกระบี่

.

      

   

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยสำนักเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำรายงานการออกแบบและพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาตามกรอบตัวชี้วัด
พหุปัญญา ผ่านรูปแบบการสร้างระบบวิเคราะห์ข้อมูลระดับย่อย ผ่านระบบการติดตามประเมินผลและจัดจำแนกผู้เรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ระหว่างระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓)

.


ที่สอดคล้องกับการส่งเสริมและการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญาและสามารถชี้แจงคุณลักษณะที่ควรส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล ซึ่งระบบการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาตามกรอบตัวชี้วัดพหุปัญญา สามารถแสดงข้อมูลความสามารถ ความถนัด และความเชี่ยวชาญของศักยภาพตามพหุปัญญา พร้อมชี้แจงรายละเอียดการพัฒนารูปแบบและแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมพหุปัญญาเพื่อการพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบศักยภาพของตน และครูผู้สอนได้มีแนวทางการพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย สำหรับการวิจัยประกอบการวางแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญา ตามยุทธศาสตร์ชาติที่ ๓ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพทรัพยากรมนุษย์และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ แผนย่อยการตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีทักษะที่สำคัญในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อสร้างสรรค์การทำงาน การสื่อสาร การแก้ปัญหา และการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตในโลกยุคใหม่

.

ทั้งนี้ การลงพื้นที่ปฏิบัติราชการภาคสนาม เพื่อติดตามการดำเนินงานของโครงการฯ และการเก็บข้อมูลของคณะที่ปรึกษา ในการออกแบบตัวชี้วัดและสร้างเครื่องมือสำหรับการประเมินและจัดจำแนกผู้เรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับที่สอดคล้องกับการส่งเสริมและการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญา ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในการได้รับข้อมูลที่แท้จริงจากหน่วยงานบริหารการศึกษาในส่วนภูมิภาคและสถานศึกษาจากการดำเนินการเก็บข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้อง จึงดำเนินการประชุมเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพหุปัญญาในพื้นที่ร่วมกับตัวแทนศึกษาธิการจังหวัดกระบี่ จากนั้นทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์/สนทนากลุ่ม โดย ผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยกระบี่ (นางวรรณดี เกตแก้ว) และคณาจารย์ 8 กลุ่มสาระวิชา ได้ร่วมกันให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการออกแบบตัวชี้วัดและสร้างเครื่องมือสำหรับการประเมินและจัดจำแนกผู้เรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับที่สอดคล้องกับการส่งเสริมและการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญา ต่อมาได้มีการสัมภาษณ์และทดลองใช้เครื่องมือสำหรับการประเมินและจัดจำแนกผู้เรียนกับนักเรียนในโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยกระบี่ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เพื่อเก็บข้อมูลรายบุคคล เมื่อแล้วเสร็จได้ร่วมกันสรุปผลการสัมภาษณ์และทดลองเครื่องมือสำหรับการประเมินและจัดจำแนกผู้เรียนร่วมกับคณะที่ปรึกษาโครงการ

.

                             

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด