สกศ. เปิดผลวิจัยรูปแบบจัดการเรียนรู้ผ่าน Digital Platform โดยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน

image

วันนี้ (๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕) สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มโดยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน” โดยมี ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา (นางรัชนี พึ่งพาณิชย์กุล) เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ นายพิภพ พิทักษ์ศิลป์ ที่ปรึกษาประธานกรรมการบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศาสตราจารย์กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และผู้แทนจาก CP All องค์กรเอกชน และหน่วยงานการศึกษา ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ณ ห้องประชุมสิปปนนท์ เกตุทัต อาคาร ๒ ชั้น ๒ สกศ. และในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx
 

 

การประชุมครั้งนี้มีการนำเสนอร่างรายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มโดยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ซึ่งแบ่งได้เป็น ๒ รูปแบบ คือ

๑) ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน (CONNEXT ED) และโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) เป็น ๒ โครงการสำคัญที่ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ บุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ และโครงการก่อการครู  

          ๒) ภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมตามศักยภาพและนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ขององค์กร เช่น โครงการทรูปลูกปัญญา รวมถึงการสนับสนุนแพลตฟอร์มการเรียนรู้จาก Google อย่าง Google Classroom และ Google Workspace for Education  

 

          ที่ประชุมได้หยิบยกข้อเสนอแนะจากการลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากสถานศึกษาที่เป็น Best Practice ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ และระดมไอเดียเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ฯ โดยปรับระบบ Education Financing โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณที่มีความยืดหยุ่นให้ความสำคัญกับผู้เรียนสูงสุด ทั้งด้านการจัดหาอุปกรณ์ดิจิทัล สัญญาณอินเทอร์เน็ต รวมถึงค่าธรรมเนียมแอปพลิเคชัน และการซ่อมแซ่มอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีที่ โดยร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดหาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีคุณภาพ มีราคาที่เหมาะสม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ Ed. Tech Startup ของไทย เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาอย่างจริงจัง ทั้งนี้ สกศ. จะรวบรวมข้อเสนอแนะจากที่ประชุมเพื่อนำมาพัฒนาร่างรายงานวิจัยให้สมบูรณ์ และจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป

 

enlightened  ภาพเพิ่มเติมจาก Facebook ข่าวสภาการศึกษา 
คลิก  https://www.facebook.com/media/set?vanity=OECCHANNEL&set=a.7505064619505399

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด