สกศ. ติดตามหนุนเสริมเติมพลัง การนำมาตรฐานการศึกษาชาติสู่การปฏิบัติด้วยนวัตกรรมการบริหารจัดการ

image

วันที่ 15 สิงหาคม 2564  สมร. สกศ. จัดการประชุมติดตามหนุนเสริมเติมพลังคณะทำงานพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการในการนำมาตรฐานการศึกษาสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบออนไลน์ ครั้งที่ 4 ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวัตกรรมการบริหารจัดการที่ส่งผลในการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพในหลากหลายบริบทและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการของสถานศึกษา เพื่อสร้างผู้เรียนที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของการศึกษา (DOE) 3 ด้าน คือ ผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และพลเมืองที่เข้มแข็ง ภายใต้คุณธรรม และค่านิยมร่วมเป็นฐานในการพัฒนา



การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 11 แห่ง ใน 5 ภูมิภาค 6 จังหวัด ได้นำเสนอ ร่าง รูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการของสถานศึกษา ในประเด็นแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษากระบวนการพัฒนานวัตกรรม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้บริหาร ครู นักเรียน และชุมชน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา และการสังเคราะห์รูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการ (Model) และให้ผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษา ได้เติมเต็มเนื้อหาและให้ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนารายงานให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน ได้แก่
1. ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกของ สมศ. และอดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 2. ศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการสอน และการบริหารจัดการสถานศึกษา
 3. ดร.ทรงพร พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการประเมินเกณฑ์รางวัล OBECQA โรงเรียนมาตรฐานสากล สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ.
4. ดร.นาฎฤดี จิตรรังสรรค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสุจิปุลิ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา และการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก ผู้ร่วมพัฒนาเครื่องมือโครงการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ

 



โดยภาคเช้าเป็นการนำเสนอของ โรงเรียนบ้านปะทาย ศรีสะเกษ โรงเรียนนารีนุกูล อุบลราชธานี โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 เชียงราย โรงเรียนบ้านไสไทย กระบี่ และโรงเรียนวัดพลมานีย์ กทม.  ภาคบ่ายเป็นการนำเสนอของ โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ศรีสะเกษ โรงเรียนเทศบาล 4 (สันป่าก่อ) โรงเรียนเทศบาล 5 (เด่นห้า) เชียงราย โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี เชียงรายโรงเรียนบ้านสมานมิตร ระยอง และโรงเรียนเมืองกระบี่ 


.
จากข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาคณะทำงานในครั้งนี้ ส่งผลให้สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ทั้ง 11 โรงเรียน ได้แนวคิดในการเติมเต็มกระบวนการพัฒนานวัตกรรม และรูปแบบ (Model) นวัตกรรมการบริหารจัดการของตนเองให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมถึงพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการให้สมบูรณ์ เพื่อเป็นต้นแบบให้สถานศึกษาอื่น ๆ ที่มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และบริบทใกล้เคียงกัน ได้นำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง ถึงแม้การดำเนินงานนี้จะเป็นการเริ่มต้นเพียงแค่ 11 โรงเรียน แต่ สกศ. มีความคาดหวังให้การดำเนินงานนี้เป็นพลังขับเคลื่อนที่แผ่ขยายไปทั่วประเทศ ผ่านการขยายผลและการดำเนนิงานต่อในระยะที่ 2 ซึ่งจะมีการหารือในลำดับต่อไป เพื่อส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนต่อการนำมาตรฐานของชาติสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด