สกศ. เตรียมนโยบายเสริมสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาด้านดิจิทัล นำร่องสถานศึกษาต้นแบบเชิงพื้นที่

image

 

 

          วันนี้ (๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ประชุมคณะทำงานจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้เรียนอาชีวศึกษา โดยมี นายวณิชย์ อ่วมศรี เป็นประธาน และผู้ทรงคุณวุฒิร่วมอภิปราย อาทิ รองประธานคณะทำงาน (นางศิริพรรณ ชุมนุม) ผู้แทนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (นางสาวจุลลดา มีสุข) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นางสาวทิพวรรณ์ วงศ์วิเชียร) พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือ ณ ห้องประชุมพจน์ สะเพียรชัย อาคาร ๒ ชั้น ๕ สกศ.

          คณะทำงานย่อยรายงานความก้าวหน้าเพื่อเชื่อมโยงผลการดำเนินงาน ดังนี้ คณะทำงานย่อย ชุดที่ ๑ วิเคราะห์สมรรถนะในแต่ละระดับของผู้เรียนอาชีวศึกษา โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ได้ดำเนินการทบทวนสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมดิจิทัลที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 10 สาขา ได้แก่ ๑) สาขา Software & Application ๒) สาขา Hardware ๓) สาขา Network & Security ๔) สาขา Telecommunication ๕) สาขา Project Management ๖) สาขา Animation ๗) สาขา e-Learning ๘) สาขาธุรกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ๙) สาขา Data Science และ ๑๐) สาขา Game รวมทั้งหมด 63 อาชีพ 1๓5 คุณวุฒิ และวิเคราะห์สมรรถนะของผู้เรียนอาชีวศึกษาร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งสมรรถนะหลักที่ต้องการโดยรวมคือทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          นายวณิชย์ อ่วมศรี ประธานคณะทำงาน กล่าวเสริมถึงความคาดหวังด้านสมรรถนะสำหรับผู้เรียนหลักสูตรที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (Non-Information Technology: IT) เช่น หลักสูตรพาณิชยกรรม ควรกำหนดเกณฑ์มาตรฐานสมรรถนะที่ควรมีด้านดิจิทัลเพื่อใช้ในการทำงาน รวมทั้งผู้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) ควรเสริมสมรรถนะใดให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง เพื่อสามารถเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้เรียนได้ชัดเจน และเป็นแนวทางให้สถานศึกษาใช้จัดการเรียนการสอนได้

          ที่ประชุมร่วมกันเสนอแนวคิดสถานศึกษานำร่องกระจาย ๕ ภูมิภาค (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคกลาง) โดยกำหนดจุดเด่นของสาขาที่ต่างกันตามลักษณะพื้นที่ สำหรับการคัดเลือกสถานศึกษาให้รวบรวมข้อมูลก่อนพิจารณาอีกครั้ง นอกจากนี้ได้มอบหมายคณะทำงานย่อย ชุดที่ ๒ ชุดการเรียนรู้ ชุดโมดูลการเรียนรู้ ให้สำรวจและรวบรวมชุดการเรียนรู้ที่ใช้ในการเรียนการสอนปัจจุบัน เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับสมรรถนะในแต่ละระดับของผู้เรียนที่จะนำไปใช้ในสถานศึกษานำร่อง และรายงานต่อที่ประชุมครั้งถัดไป

 

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด