อนุ ฯ ขับเคลื่อน NQF สู่การปฏิบัติมุ่งสร้างความเชื่อมั่น Stakeholder เรียน-มีงานทำ ภายใต้มาตรฐานวิชาชีพสากลยกระดับรายได้อนาคต

image

  วันนี้ (๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติจริง ที่มี นายอรรถการ ตฤษณารังสี เป็นประธาน นัดประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือ ณ ห้องสิปปนนท์ เกตุทัต ชั้น ๒ อาคาร ๒ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)


     คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติจริง (อนุ ฯ ขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิ) เป็น ๑ ใน ๔ คณะอนุ ฯ ภายใต้คณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) ซึ่งประธานอนุ ฯ ได้ร่วมประชุมหารือกับนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ โดยมอบนโยบบายการขับเคลื่อนงาน NQF มุ่งเน้นลดซ้ำซ้อนและสร้างความเชื่อมโยงต่อยอดสมรรถนะวิชาชีพสอดรับกับการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศอาชีวศึกษา (Excellence Center) ของ ศธ. ร่วมขับเคลื่อนพัฒนาประเทศอย่างเป็นเอกภาพในทิศทางเดียวกัน

 


      นายอรรถการ ตฤษณารังสี  ประธานคณะอนุ ฯ ขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิ กล่าวว่า ได้รับมอบนโยบายการขับเคลื่อนงาน NQF จาก รมว.ศธ. ถ่ายทอดสู่การขับเคลื่อนงานของคณะอนุ ฯ ขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิ เร่งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะในอนาคตประเทศไทยต้องสร้างฐานแรงงานที่มีคุณภาพไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาจากฐานข้อมูล และการพัฒนาในกลุ่ม ๗ + ๑ อุตสาหกรรมเร่งด่วนตามแผนขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๖๕


     ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่คณะอนุ ฯ มุ่งเน้นเร่งขับเคลื่อนคือ การเปิดตัว NQF ผ่านการสัมมนาสาธารณะเพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ประการสำคัญคือเร่งสร้างความเชื่อมั่นต่อมาตรฐานวิชาชีพ และสร้างการยอมรับในระบบ NQF ต่อการวางแผนอาชีพอนาคตของนักเรียนนักศึกษาและหน่วยงานจัดการศึกษา องค์กร และภาคเอกชนต่าง ๆ รวมถึงการจัดตั้ง "องค์กรกลาง" ขับเคลื่อนงาน NQF ที่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล และต้องเร่งผลักดันให้เกิดกฎหมายหรือระเบียบรองรับการดำเนินงาน


      ที่ประชุมหารืออย่างกว้างขวางถึงความสอดคล้องและเร่งส่งเสริม
กระบวนการต่าง ๆ ให้เกิดความเชื่อมโยงการขับเคลื่อนโลกการศึกษากับโลกของอาชีพให้เป็นเส้นทางเดียวกันท้้ง NQF มาตรฐานฝีมือแรงงาน และคุณวุฒิวิชาชีพ สร้างให้เกิดเป็นรูปธรรมเสริมสร้างโอกาสเรียนรู้ทักษะวิชาชีพเพิ่มมากขึ้น โดยนำมาตรฐานวิชาชีพที่มีอยู่ ๘๑๖ วิชาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) มาใช้ในสถานศึกษาเพิ่มขึ้นจะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้ทักษะวิชาชีพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนสำคัญต่อการเลือกประกอบอาชีพและรายได้ในอนาคต

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด