สานพลังการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาท้องถิ่น...สู่นโยบายการศึกษาแห่งชาติ

image

   สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นสะท้อนมุมมองการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาท้องถิ่นแถบภาคอีสาน (นครพนม สกลนคร มุกดาหาร และบึงกาฬ) จากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.สุภัทร  จำปาทอง) มอบหมายให้ รองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์) พร้อมด้วย นางจันทวรรจ์ หรรษาภิรมย์โชค ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และข้าราชการกลุ่มพัฒนาระบบบริหารของสกศ. ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ภาคอีสาน จังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ ๔ – ๕ มีนาคม ๒๕๖๓

   เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๓ กิจกรรมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประเด็น “สะท้อนมุมมองหน่วยงานด้านการจัดการศึกษาท้องถิ่นที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการกีฬากับการจัดการศึกษาทุกระดับ” ณ บ้านครูประหัส  มันตะ ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๕ ด้านปรัชญา ศาสนาและประเพณี จังหวัดนครพนม

 


   นางพิจารณา  ศิริชานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สกศ. กล่าวว่า สกศ. มีบทบาทภารกิจในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติ เป็นการบูรณาการ ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมกับการศึกษา ดำเนินการให้ครูภูมิปัญญาไทยเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ชุมชน สังคม การประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้คาดหวังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาท้องถิ่นจะให้ข้อเสนอแนะในเรื่องการจัดการศึกษาท้องถิ่น

 

 

    นางจันทวรรจ์ หรรษาภิรมย์โชค ที่ปรึกษาพัฒนาระบบราชการ กล่าวว่า ประเทศไทยต้องรีฟอร์มระบบราชการอย่างเร่งด่วน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในฐานะที่เป็นหน่วยหลักในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา ซึ่งแต่ละกระทรวงกรมต่างรับผิดชอบแบ่งงานตามภารกิจของแต่ละกระทรวง ต้องทำงานแบบยึดโยงเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน บูรณาการร่วมงานกัน ตามภารกิจงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ดังนั้นการสะท้อนมุมมองด้านการจัดการศึกษาท้องถิ่น การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย จำเป็นยิ่งที่จะต้องดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันทุกภาคส่วน ทั้ง สธ. ศธ. ท่องเที่ยวและกีฬา มหาดไทย วัฒนธรรม แรงงาน ทั้งหลักสูตร สื่อ วิธีการประเมินผล รวมถึงกลไกความรู้จากครูภูมิปัญญาไทยเพื่อไปให้ถึงลูกหลานไทย

 

 

      ผู้แทนจากสนง. กศน. (ส่วนกลาง) ดร.นภมณฑล  สิบหมื่นเปี่ยม  รักษาการในตำแหน่ง ผชช.กศน.  กล่าวว่า กศน. พยายามที่จะใกล้ชิดกับประชาชนให้มากที่สุด เป็นหน่วยงานที่ให้การศึกษาตลอดชีวิตทุกช่วงวัย ทั้งหลักสูตรท้องถิ่น โดยเฉพาะจังหวัดนครพนมได้สนทนาร่วมกันเพื่อที่จะสร้างหลักสูตรเฉพาะของนครพนม เพื่อให้เกิดประโยชน์ อนุรักษ์ ฟื้นฟู โดยมีครูภูมิปัญญาไทยของสกศ. เป็นผู้ขับเคลื่อน นอกจากนี้ กศน. จะมีส่วนขับเคลื่อนเรื่องมาตรฐานหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน และธำรงรักษาไว้ซึ่งความเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นที่สอดคล้องกับพื้นที่ของตน ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ

 

 

      ผู้แทนจากครูภูมิปัญญาไทยพื้นที่จังหวัดนครพนม นายประหัส  มันตะ ครูภูมิปัญญาไทยของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา รุ่นที่ ๕ ด้านปรัชญา ศาสนาและประเพณี (การสร้างศรัทธาต่อองค์พระธาตุพนม) กล่าวว่า การถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านการจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ลักษณะการเรียนการสอนทั้งการตั้งคำถามในสิ่งที่เด็กสนใจ การเรียนรู้ต้องรู้จักการแก้ปัญหา มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ  ความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยวิธีการสอนที่หลากหลายตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมให้กับผู้เรียน เน้นการเป็นคนดี มีคุณธรรม มีการสาธิตและการฝึกปฏิบัติ ยึดแนวทางการปฏิบัติ คือ “สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น” การปฏิบัติตนจนเป็นแบบอย่าง เช่น การถือศีลห้าช่วงเข้าพรรษา สร้างความเชื่อถือศรัทธาในฐานะผู้นำครู

 

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด