อนุกกส. เสนอให้เทียบโอนการศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์กับหลักสูตรปกติ
วันนี้ (๒๑ มกราคม ๒๕๖๓) นางจรวยพร ธรณินทร์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการสภาการศึกษา ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และภูมิปัญญา ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยที่ประชุมร่วมกันพิจารณาแผนงานใหม่ในปี ๒๕๖๓ จะเน้นการส่งเสริมให้นักเรียนนิยมและสนใจไปเรียนรู้จากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีอยู่กว่า ๕,๐๐๐ แห่งในทุกจังหวัดของประเทศไทย และมีโรงเรียนวิถีพุทธอยู่แล้ว ๒๒,๗๘๕ โรง ให้สามารถเทียบโอน เพื่อประเมินผลการเรียนในหลักสูตรปกติ หรือได้รับเกียรติบัตรรับรองจากกรมการศาสนา
ทั้งนี้ จะได้พัฒนาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะ ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงาน กศน. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ และมหามกุฏราชวิทยาลัย และได้หารือเกี่ยวกับการทำ MOU ของหน่วยงานต่าง ๆ ด้านความร่วมมือในการจัดการศึกษา เพื่อสำรวจความคืบหน้าและผลการดำเนินงานตาม MOU ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อจัดทำข้อเสนอในการทบทวนประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการยังได้พิจารณา เรื่อง ๒) แผนการดำเนินงานปี ๒๕๖๓ ของคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านศาสนาฯ และ ๓) การจัดทำหนังสือ “สมองซีกขวาพัฒนาได้ : เด็กอยากขอ พ่อแม่อยากรู้ ครูอยากเข้าใจ”
ส่วนของแผนการดำเนินงานในปี ๒๕๖๓ ของอนุกรรมการฯ แบ่งเป็น ๕ ประเด็น คือ ๑. การประชุมคณะอนุกรรมการฯ ๒. จัดทำร่างหนังสือ “สมองซีกขวาพัฒนาได้ : เด็กอยากขอ พ่อแม่อยากรู้ ครูอยากเข้าใจ” ๓. การปรับปรุงหนังสือ และจัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หนังสือ ๔. การเผยแพร่หนังสือ และสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครู นักเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง และ ๕. การรายงานความก้าวหน้ากับสภาการศึกษาอย่างน้อย ๒ ครั้ง ประมาณเดือนมิถุนายนและเดือนตุลาคม ๒๕๖๓
สำหรับการจัดทำหนังสือ “สมอง ทั้งนี้ จะได้พัฒนาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะ ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา เพื่อดำเนินโครงการควา มร่วมมือระหว่าง หน่วยงานในสังกัดกระซีกขวาพัฒนาได้ : เด็กอยากขอ พ่อแม่อยากรู้ ครูอยากเข้าใจ” ที่ประชุมได้ยกตัวอย่างแนวคิดการทำหนังสือจากประเทศญี่ปุ่น เรื่อง การสอนแบบญี่ปุ่น ๑๘ ข้อที่เด็ก ๆ ต้องทำก่อนเข้า ป.๑ โดยที่ประชุมมีข้อเสนอให้ทำการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา เนื่องจากระดับปฐมวัยมีเอกสารและหนังสือค่อนข้างมากแล้ว ขาดแต่การนำไปปฏิบัติใช้