สรุปประเด็นการสนทนารายการรอบรั้วเสมา ช่วงผู้บริหารสนทนา ประเด็น เปิดโลกการศึกษาส่วนท้องถิ่นผ่าน “ร้อยเอ็ดโมเดล”
|
ผู้ดำเนินรายการ : |
|
|
รายการรอบรั้วเสมา ช่วงผู้บริหารสนทนา ได้รับเกียรติจาก ดร.นุชากร มาศฉมาดล รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ร่วมสนทนาประเด็น เปิดโลกการศึกษาส่วนท้องถิ่นผ่าน “ร้อยเอ็ดโมเดล”
ทราบมาว่าท่าน ดร.นุชากร มาศฉมาดล รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ได้ร่วมนำเสนอเรื่อง “ท้องถิ่นกับอนาคตการศึกษาไทย” ในงานมหกรรมการศึกษาแห่งชาติ : ก้าวสู่คุณภาพการศึกษาที่ดีกว่า ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา ก่อนอื่น ขอให้ท่านรองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ดเล่าถึงจุดเด่นด้านหลักสูตรและแนวทางการจัดการเรียนรู้ในท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด |
|
|
|
|
รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด : |
|
|
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รับผิดชอบจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกว่า ๒ หมื่นแห่งทั่วประเทศ เนื่องจากความใกล้ชิดกับชุมชนอาจทำให้มีแนวทางจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างจากสถานศึกษาในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) บางประการ เช่น การรับนักเรียนเข้าศึกษาในโรงเรียนสังกัด อปท. ไม่มีการสอบวัดความสามารถทางวิชาการ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึง ปัจจัยเช่นนี้ทำให้ อปท. พัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน อาทิ ภาษาจีน การทำอาหาร – ขนมไทย และดนตรีลูกทุ่ง เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ค้นหาความถนัดของตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อการเลือกศึกษาต่อในสาขาที่สนใจ ทั้งในระดับอาชีวศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงวิทยาลัยเฉพาะทางอย่างเช่นวิทยาลัยนาฏศิลป์ |
|
|
|
|
ผู้ดำเนินรายการ : |
|
|
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดสร้างความร่วมมือกับชุมชนและผู้ปกครองให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้อย่างไร |
|
|
|
|
รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด : |
|
|
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดขับเคลื่อนการบริหารจัดการศึกษาตามแนวนโยบายการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School Based Management for Local Development หรือ SBMLD) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้เข้ามาฝึกอาชีพร่วมกัน เช่น การทำขนม การทำงานฝีมือ และการทำพานบายศรี เพื่อสร้างทักษะในการประกอบอาชีพอื่น ๆ ต่อไป ในบางรายวิชาผู้ปกครองสามารถร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ได้ เช่น สถานศึกษาหลายแห่งในสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดให้ผู้ปกครองเป็นผู้สอนวิชาการตัดผม ทำให้นักเรียนสามารถตัดผมให้เพื่อนได้ ถือเป็นการช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนซึ่งตั้งอยู่ใกล้วัดที่มีฌาปนกิจสถานที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยโรงเรียนเปิดสอนวิชาการประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ส่งให้วัดเป็นการสร้างรายได้เสริมให้ผู้ปกครองที่เข้าร่วมหลักสูตร SBMLD ได้อีกทางหนึ่ง |
|
|
|
|
ผู้ดำเนินรายการ : |
|
|
ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ท่านมองว่า สิ่งใดเป็นปัจจัยความสำเร็จของการจัดการศึกษาโดย อปท. |
|
|
|
|
รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด : |
|
|
จุดเด่นของการจัดการศึกษาโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) คือ ความยืดหยุ่นในการดำเนินการ โดย อปท. สามารถจัดสรรเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดให้เพิ่มจากรายหัวที่ได้รับปกติ ทำให้สามารถเปิดสอนรายวิชาตามความสนใจของนักเรียนได้อย่างหลากหลาย แนวทางดังกล่าวได้ช่วยสร้างโอกาสให้แก่นักเรียนในพื้นที่ทั้งด้านกีฬาและวิชาการ เช่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดมีนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนด้านกีฬาจนสามารถเข้าร่วมเป็นนักกีฬาทีมชาติไทย จำนวน ๓ คน และจากส่งเสริมการเรียนภาษาจีนทำให้มีนักเรียนสามารถสอบได้ทุนรัฐบาลจีน ประมาณ ๕ คน นอกจากนี้ยังมีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนระดับปฐมวัย โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด |
|
|
|
|
ผู้ดำเนินรายการ : |
|
|
ภาครัฐควรปรับปรุงหลักเกณฑ์หรือเพิ่มเติมการสนับสนุนในด้านใด เพื่อให้การศึกษาท้องถิ่นสามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยได้อย่างแท้จริง |
|
|
|
|
รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด : |
|
|
อยากให้ภาครัฐกำหนดนโยบายโดยมีความยืดหยุ่นในเชิงปฏิบัติ เช่น การจัดหลักสูตรการศึกษาที่เดิมบังคับจำนวนคาบในการสอนแต่ละกลุ่มสาระ อาจเปลี่ยนเป็นการกำหนดจำนวนคาบเรียนขั้นต่ำที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถปรับกิจกรรมอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning) หรือ การสอนโค้ดดิ้ง (Coding) ได้ นอกจากนี้ควรปรับเอกสารประกอบการเรียน แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู และข้อกำหนดอื่น ๆให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้นโยบายการศึกษาของรัฐบาลเกิดผลสำเร็จได้ สิ่งที่น่ากังวลใจอีกประการหนึ่งคือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-net อาจไม่สอดคล้องกับข้อจำกัดของสถานศึกษาที่มีความแตกต่างกันทั่วทั้งประเทศ โรงเรียนขนาดเล็กบางแห่งที่ขาดความพร้อมทางด้านวิชาการแต่อาจมีผลงานโดดเด่นจากการส่งเสริมนักเรียนให้มีทักษะดนตรีหรือกีฬา อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อนักเรียนที่กลับจากการศึกษาต่อในต่างประเทศ หรือนักกีฬาทีมชาติที่ต้องใช้เวลาฝึกซ้อมร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ จึงอยากเสนอให้ภาครัฐพิจารณาทบทวนแนวทางดังกล่าว เพื่อให้การวัดและประเมินผลสามารถสะท้อนสภาพการศึกษาของประเทศได้อย่างแท้จริง |
|
|
|
|
ผู้ดำเนินรายการ : |
|
|
สุดท้ายนี้ ขอให้ท่าน ดร.นุชากร มาศฉมาดล รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ฝากอะไรถึงผู้รับฟังรายการรอบรั้วเสมา |
|
|
|
|
รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด : |
|
|
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดมีเป้าหมายให้ผู้เรียนสายอาชีพและสายสามัญมีสัดส่วนเท่ากัน (๕๐ : ๕๐) ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ประกอบกับพัฒนาครูอาจารย์ให้มีทักษะการสอนที่สอดคล้องกับยุคสมัยที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงความรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลได้ อย่างไรก็ตาม การศึกษาไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น ผู้ปกครองจะต้องเป็นส่วนหนึ่งในการอบรมสั่งสอน ช่วยติดตามและสนับสนุนการเรียนของบุตรหลาน เพื่อให้การศึกษาของชาติก้าวหน้าต่อไป ผู้สนใจสามารถให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษาได้ที่ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ๙๙/๒๐ ถนนสุโขทัย เขตดุสิต กรุงเทพ ฯ ๑๐๓๐๐ เว็บไซต์ www.onec.go.th และ Facebook Fanpage “เด็กไทยในฝัน โดยสภาการศึกษา” |
|
|
|
|
ผู้ดำเนินรายการ : |
|
|
สำหรับวันนี้ขอขอบพระคุณ ดร.นุชากร มาศฉมาดล รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ที่มาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ท่านผู้ฟังรายการรอบรั้วเสมา |
|
|
|
|
|
|
|
***************************************************************** |