สกศ. จัดประชุมอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และภูมิปัญญา ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒

image

 

         วันนี้  (๒๕ ม.ค. ๒๕๖๒ ) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  จัดประชุมอนุกรรมการสภาการศึกษา ด้านศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และภูมิปัญญา  ครั้งที่ ๑/๒๕๖  โดยมี ดร. จรวยพร ธรณิทร์  ประธานอนุกรรมการฯ เป็นประธาน การประชุม มีนายสำเนา เนื้อทอง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้เป็นเลขานุการ ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
 
 
 
         ที่ประชุม ได้รับทราบการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ในรอบปีงบประมาณ ๒๕๖๑  และร่วมพิจารณารายงานสถานการณ์ แนวโน้มและข้อเสนอการบูรณาการการศึกษากับศาสนา  ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และภูมิปัญญา รวมถึงร่วมวางแผนงานที่จะดำเนินงานในปี ๒๕๖๒ 
 
         คณะทำงานด้านจัดทำข้อเสนอการบูรณาการศึกษาด้านศาสนา ได้นำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข ดังนี้ ด้านศาสนาพบว่าสิ่งที่เป็นปัญหา คือ ๑. การเหินห่างจากศาสนาของประชาชน เด็ก และเยาวชน ๒. ทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับศาสนา  3. ปัญหาศีลธรรมเสื่อม ขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องศาสนา 4. การไม่ประพฤติ ปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนเคารพนับถือ 5. ขาดนโยบาย แผนการดำเนินงานที่ชัดเจนของรัฐบาลที่จะส่งเสริมงานด้านศาสนา 6. ความสัมพันธ์ ความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนายังมีน้อย ขาดการเชื่อมโยง 7. ขาดจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม 8. ขาดความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป  9. หลักสูตรการสอน ข้อจำกัดของเวลา ผู้สอนยังขาดเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จึงไม่สามารถตีความได้อย่างถูกต้อง 10. ระบบ/รูปแบบ/วิธีการ/ข้อจำกัดของเวลาหรือหน่วยกิตที่น้อยในการจัดการเรียนการสอนการศึกษาเพื่อการดำรงชีวิต และ11. ผลกระทบจากปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของศาสนา (หลักสูตร ครูผู้สอน โซเชียล สังคม) สำหรับแนวทางแก้ไข ต้องปรับหลักสูตรให้ผู้เรียนมีความเข้าใจหลักคำสอนของศาสนาต่าง ๆ เน้นการปฏิบัติ ฯลฯ ด้านบุคลากร ควรฝึกอบรมครูให้มีความรู้และมีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ  ผู้บริหารสถานศึกษาตระหนักถึงความสำคัญและให้การสนับสนุน  ด้านสื่ออุปกรณ์ สร้างสื่อสร้างสรรค์ และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ด้านบริหารจัดการ ควรมีฐานข้อมูลกลาง รวบหลักสูตร  เทคนิคการสอน  สื่อ แหล่งเรียนรู้ด้านศาสนา  ด้านเครือข่ายความร่วมมือ เน้นการมีส่วนร่วม หาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยสอนและให้คำแนะนำ ควรมีการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เป็นต้น 
 
 
 
         คณะทำงานด้านจัดทำข้อเสนอการบูรณาการศึกษาด้านศิลปะ ได้นำเสนอปัญหา ดังนี้ ด้านศิลปะพบว่าผู้ปกครอง ตลอดจนสถานศึกษาไม่ค่อยเห็นความสำคัญของศิลปะ การเรียนการสอนจะเน้นสมองซีกซ้ายมาก ซึ่งใน ความเป็นจริงแล้วต้องเน้นทั้งสองด้าน วิชาศิลปะมีความสำคัญ เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ มีโรงเรียนหลายโรงเรียนที่ไม่มีห้องศิลปะ และขาดครูผู้สอนโดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา  ดังนั้นแนวทางแก้ไขคือต้องสร้างทัศนคติที่ถูกต้องและเห็นความสำคัญของศิลปะ ทั้งผู้ปกครอง สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งคณะทำงานฯ ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาไว้ ๒ ระยะ คือ ระยะสั้น และระยะยาว  ระยะสั้น เสนอให้โรงเรียนที่ขาดแคลนครูรวมกลุ่มโรงเรียนและใช้ครูสอนร่วมกัน  ควรมีการจัดอบรมทักษะ ศิลปะ ดนตรีและการแสดงให้ครูที่ไม่มีวุฒิด้านศิลปะแต่ต้องสอนศิลปะ  ควรมีห้องเรียนศิลปะโดยเฉพาะ ให้ความรู้ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ชี้ให้เห็นความสำคัญที่ศิลปะช่วยให้เกิดพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงสามารถประกอบอาชีพได้ และควรเปลี่ยนเกณฑ์การตัดสินด้านศิลปะ ไม่ใช้เกณฑ์คะแนน หรือเชิงการแข่งขัน  แต่พิจารณาจากการพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคล  สำหรับมาตรการระยะยาว คือ ควรจัดอัตรากำลังครูศิลปะ  รัฐควรดูแลเรื่องภาษีและวัสดุอุปกรณ์ในการเรียน ปรับระบบการจัดการศึกษา และควรสนับสนุนศิลปะพื้นถิ่นให้ได้วิจัยต่อยอด
 
 
 
         ที่ประชุมได้มีการหารือการวางแผนการทำงานในระยะต่อไป คือ การจัดทำหนังสือ Do และ Don’t โดยเป็นหนังสือที่เน้นการทำอย่างไรให้คนในครอบครัวใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในด้านต่างๆ เช่น พึ่งตนเองได้ สุขภาพดี มีจิตวิญญาณที่ดี มีความพอเพียง ทำงานร่วมกับชุมชน ฯลฯ โดยแต่ละด้านทั้งศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬาและภูมิปัญญาสรุปประเด็นที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลนำมาจัดทำเอกสารที่อ่านง่าย ทั้งนี้ หนังสือที่จะจัดทำเน้นให้มีตัวหนังสือน้อย ใช้คำกริยา สั้น กระทัดรัด ผู้อ่านนำไปใช้ได้จริง นอกจากนี้ที่ประชุมยังให้ข้อเสนอแนะคิดว่าควรมีการสอบถามเก็บข้อมูลกับโรงเรียนที่มีความโดดเด่นให้ด้านต่างๆ เพื่อนำมาข้อมูลมาประกอบจัดทำข้อเสนอต่อไป
 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด