สกศ. เชิญผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อเสนอแนะการพัฒนารูปแบบและกลไกการพัฒนาครูในลักษณะเครือข่ายเชิงพื้นที่

image

           สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดประชุมเพื่อประเมินเชิงวิพากษ์ (ร่าง) รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบและกลไกการพัฒนาครูในลักษณะเครือข่ายเชิงพื้นที่ :กรณีศึกษา ๕ พื้นทื่ ระหว่างวันที่ ๒๘ - ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๑ ณ ห้องบงกชรัตน์ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ เพื่อให้นักวิจัยรับฟังข้อวิพากษ์ ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ศ.ดร.พฤทธิ์  ศิริบรรรณพิทักษ์   รศ.ดร.พิชิต   ฤทธิ์จรูญ รศ.ดร.มนตรี  แย้มกสิกร และนายสมหมาย ปาริจฉัตต์ เพื่อให้คณะนักวิจัยนำไปปรับปรุง (ร่าง) รายงานการวิจัยฯ ในการนำไปสู่การพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษา และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป  
 
            นายสำเนา  เนื้อทอง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้จัดทำโครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบ และกลไกการพัฒนาครูในลักษณะเครือข่ายเชิงพื้นที่ : กรณีศึกษา ๕ พื้นทื่ โดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน ๖ เดือน ประกอบด้วย คณะที่ ๑ ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คณะที่  ๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี คณะที่ ๓ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะที่ ๔ ภาคกลาง และภาคตะวันออกและตะวันตก มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะที่ ๕ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมีทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดูแลประสานงานในภาพรวม นักวิจัยแต่ละพื้นที่ ดำเนินการศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ กรอบแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ โดยใช้แนวทางความร่วมมือของสถาบันการผลิตครูในพื้นที่ร่วมรับผิดชอบดำเนินการพัฒนาครูในลักษณะเครือข่าย การปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาครูและการสนับสนุนให้สถาบันการผลิตครูปรับบทบาทเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาครูในพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สร้างเครือข่ายพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และกิจกรรมร่วมกันในการจัดทำแผนกลยุทธ์ และกลไกการพัฒนาครูร่วมกันเชื่อมโยงภารกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
 
            ปัจจุบัน โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบและกลไกการพัฒนาครูในลักษณะเครือข่ายเชิงพื้นที่ : กรณีศึกษา ๕ พื้นทื่ ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งพร้อมทั้งจัดทำ (ร่าง) รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบและกลไกการพัฒนาครูในลักษณะเครือข่ายเชิงพื้นที่ : กรณีศึกษา ๕ พื้นทื่ ในการดำเนินการดังกล่าว สกศ. จึงได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมวิพากษ์ ให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น เพื่อให้นักวิจัยแต่ละพื้นที่นำไปปรับปรุงงานวิจัยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป 
 
 
 
 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด