ประชุมอนุ กกส. ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และภูมิปัญญา ครั้งที่ ๖/๒๕๖๑

image

 

วันนี้ (๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๑) ดร.จรวยพร ธรณิณทร์ กรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา (กกส.) เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการสภาการศึกษา (อนุ กกส.) ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และภูมิปัญญา ครั้งที่ ๖/๒๕๖๑ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการฯ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านกีฬา เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร ชั้น ๓ อาคาร ๕๖ ปี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ที่ประชุมหารือระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนการบูรณาการกีฬาในระบบการศึกษา และแนวทางการพัฒนาและการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการศึกษาด้านกีฬา เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิด้านกีฬา ทั้งนี้ คณะอนุ กกส. ฯ 

 

 ข้อเสนอบางส่วนของการบูรณาการในการจัดการศึกษา ด้านพลศึกษา กิจกรรมออกกาลังกาย และการกีฬา

โดยคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาฯ ชุดที่ ๙ และ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการกีฬา

๑. ปัญหาการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา และการส่งเสริมกิจกรรมกีฬาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (๑) สืบเนื่องจากการควบคุมอัตรากาลังของข้าราชการครู ทาให้จานวนครูมีจากัด โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา ครูต้องทาหน้าที่สอนเกือบทุกวิชา จึงใช้ครูที่ไม่มีคุณวุฒิด้านพลศึกษาไปสอนวิชาพลศึกษา ซึ่งส่งผลให้เด็กไม่ได้รับการฝึกทักษะและเจตคติที่เหมาะสมเท่าที่ควร (๒) การวัดและประเมินผลวิชาพลศึกษายังเน้นการวัดทักษะกีฬา ทาให้เด็กที่เล่นกีฬาไม่เก่ง หรือเด็กอ้วน ไม่ชอบวิชาพลศึกษา (๓) ในการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย จะวัดและประเมินผลด้วยวิชาสามัญ ทาให้วิชาพลศึกษาไม่ได้รับความสนใจ มีจานวนคาบที่ใช้ในการเรียนการสอน เพียง ๑ คาบ/ สัปดาห์ (๖๐ นาที/ คาบ) ทาให้การฝึกกิจกรรมทาได้จากัด และวิชาพลศึกษา ไม่ได้รับความสนใจจากผู้เรียน (๔) สนามและอุปกรณ์กีฬาส่วนใหญ่จะจัดไว้ในโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนประจา ทาให้การสอนวิชาพลศึกษามีข้อจากัด ไม่สามารถเลือกชนิดกิจกรรมได้ หลากหลาย ส่วนใหญ่จะใช้สนามกีฬาเอนกประสงค์ ซึ่งเหมาะกับฟุตบอล บาสเกตบอล ตะกร้อ วอลเลย์บอล ไม่สามารถเลือกชนิดกีฬาอื่น ๆ เช่น ว่ายน้า เทนนิส ยิมนาสติก ฯลฯ

 

 

(๕) ครูพลศึกษาขาดขวัญและกาลังใจ โดยเฉพาะผลกระทบจากผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งให้ความสาคัญวิชาพลศึกษาน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับวิชาอื่น ๆ ครูพลศึกษาจึงมีโอกาสก้าวหน้าในวิชาชีพและก้าวไปสู่การเป็นผู้บริหารสถานศึกษาได้ยากลาบาก

๒. ตัวอย่างการระบุปัญหาสถาบันอาชีวศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา

(๑) ในสถาบันอาชีวศึกษา วิชาพลศึกษาเป็นวิชาบังคับในระดับ ปวช. มีหน่วยกิตเพียง ๑-๒ หน่วยกิตเท่านั้น ทาให้นักศึกษามีโอกาสฝึกกีฬาค่อนข้างจากัด แต่ในสถาบันอุดมศึกษาโดยทั่วไปไม่ได้บรรจุวิชากีฬาไว้ในหลักสูตร ดังนั้นนักศึกษาจึงไม่ให้ความสาคัญในวิชาพลศึกษา

(๒) ขาดการสนับสนุนในการจัดชมรมกีฬาและสนามอุปกรณ์กีฬาที่จูงใจมากพอ ทาให้นักศึกษาส่วนใหญ่ที่มิใช่นักกีฬาของมหาวิทยาลัยไม่ได้ร่วมกิจกรรมออกกาลังกาย หรือเล่นกีฬา

 

 

๓. สภาพปัญหาหลักด้านพลศึกษาและกีฬา

- คนไม่ออกกาลังกายเล่นกีฬา ทาให้เจ็บป่วย เกิดโรค

๔. ข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์และการเสริมสร้างความเข้มแข็งการบูรณาการกีฬา ในระบบการศึกษา

๔.๑ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมประชุมเพื่อร่วมมือกันทางาน ส่งเสริมพลศึกษาและกีฬา เมื่อวันอังคารที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘

-เคยมีการเสนอการเพิ่มจานวนชั่วโมงเรียนวิชาพลศึกษา อย่างน้อย ๒ ชม./สัปดาห์ แต่ไม่สามารถนาไปสู่การปฎิบัติจริงได้

-การส่งเสริมการออกกาลังกายตอนเช้าหน้าเสาธง

-การสอนมวยไทย กระบี่กระบอง ใช้การสอนทางไกลผ่านดาวเทียมที่นาเนื้อหากีฬามวยไทยไปยังโรงเรียนขนาดเล็ก ๓๐,๐๐๐ โรงเรียน

-การพัฒนาครูพลศึกษาในลักษณะกลุ่มโรงเรียนที่มีบริเวณใกล้เคียงกัน ๕-๑๐ โรงเรียน ส่งโคชมาช่วยสอน

-การปรับรูปแบบการประเมินผลนักเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านกีฬา เป็นกรณีพิเศษ

โครงการส่งเสริมการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เป็นมัคคุเทศก์พาเที่ยวในท้องถิ่น

๔.๒ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ ได้เสนอนโยบายการนากีฬาเข้าสู่ระบบการศึกษา ตามนโยบายของรัฐบาลเรื่องการส่งเสริมการเรียนการสอนกีฬา โดยจะจัดทาหลักสูตรคีตะมวยไทย สอนนักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.๑-ม.๖ หลักสูตรนี้เน้นเรื่องทักษะการออกกาลังกาย โดยใช้ท่ามวยไทยเป็นหลัก นอกจากนี้จะมีการสอนกีฬายิมนาสติก ที่เน้นการยืดหยุ่นร่างกาย และสอนว่ายน้า ให้นักเรียนรู้จักการลอยตัวในน้า ทั้งนี้ สพฐ. จะหารือร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดทาหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อนาไปใช้ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ โดยใช้เป็นวิชาเลือก วิชาเพิ่มเติม หรือเป็นชมรม เป็นต้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของโรงเรียน

๔.๓ ตัวอย่างนโยบายในส่วน กทม.

สานักการศึกษา รายงานการดาเนินโครงการว่ายน้าเป็น เล่นน้าได้ปลอดภัยตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้ดาเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ ถึงปัจจุบัน เนื่องจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางน้าในแต่ละปีจะมีสาเหตุมาจากเด็กจมน้าเป็นอันดับ ๑

เป้าหมายคือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันปีการศึกษา ๒๕๖๑ สอนให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓-๖ ทั้ง ๔๓๗ แห่ง ประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ คนเรียนที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานครในพื้นที่ และ

ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ จะเหลือแค่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จานวน ๓๒,๕๘๙ คน เนื่องจากเด็กเล็กชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เมื่อเรียนว่ายน้าเป็นแล้ว จะเป็นการเรียนซ้าซ้อนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ อีก จึงเหลือแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เท่านั้น

แนวทางการปรับรูปแบบการเรียนการสอนว่ายน้าขั้นพื้นฐาน

โดยจะเริ่มสอนตั้งแต่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ซึ่งเป็นเด็กเล็กที่ส่วนมากมักจะพบในเหตุจมน้าและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

พบปัญหาครูผู้สอนไม่เพียงพอ การดูแลเด็กไม่ทั่วถึง จึงได้ยกเลิกการสอนว่ายน้าในเด็กเล็กไป

บางโรงเรียนเป็นเด็กที่เล็กมาก หรือมีจานวนเด็กมากอาจทาให้การดูแลไม่ทั่วถึง ซึ่งต้องดูความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียนก่อนจะตัดสินใจให้เปิดสอนได้

๔.๓. ตัวอย่างการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาการพลศึกษาและกีฬาในระบบการศึกษา

(๑)ใช้การเมืองเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดแรงผลักดันในระดับชาติ โดยกาหนดเป็นวาระแห่งชาติ หรือใช้มติคณะรัฐมนตรี ขอความร่วมมือทุกส่วนราชการร่วมสนับสนุน โดยต้องมีระบบติดตามและประเมินผลสาเร็จ และมีรางวัลจูงใจให้กับหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือ

(๒) ส่งเสริมให้มีการทางานบูรณาการข้ามกระทรวง ในการรณรงค์ในระดับชาติให้ประชาชนออกกาลังกายและเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รับผิดชอบร่วมกันดังเช่น โครงการ “รวมพลคนเสื้อเหลือง” ของกระทรวงสาธารณสุข ที่รวมพลังคนเต้นแอโรบิคส์มาออกกาลังกายพร้อมกัน

(๓) ต้องพัฒนาครูที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษาให้สามารถเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการกีฬา จนมีทักษะและเจตคติที่ดีเพียงพอในการสอนวิชาพลศึกษา และพยายามบรรจุครูพลศึกษาเข้าไปทดแทนตาแหน่งครูบรรจุใหม่หรือครูที่เกษียณอายุราชการไป

(๔) ควรเน้นการใช้คาบเรียนวิชาพลศึกษาให้เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นวิชาบังคับในสถาบันอาชีวศึกษา ทั้งในระดับ ปวช. และ ปวส. ส่งเสริมให้เป็นวิชาเลือกในทุกคณะในทุกสถาบันอุดมศึกษา

(๕) จัดทุนการศึกษาให้กับนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีพรสวรรค์ด้านการกีฬา และพัฒนาสู่การเป็นนักกีฬาช้างเผือกที่สามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โดยมีระบบดูแลและสอนเสริมที่ดีเพียงพอที่จะทาให้นักกีฬาทุกคนเรียนสาเร็จ

(๖) ส่งเสริมให้สถานศึกษาได้เปิดสนามให้นักเรียน และบุคคลภายนอกเข้ามาใช้สนามกีฬา และอุปกรณ์ในช่วงนอกเวลาเรียนได้

(๗) ควรบรรจุกิจกรรมกีฬาไว้ในการจัดการศึกษานอกระบบด้วย โดยไม่เน้นการใช้ทักษะกีฬา แต่เน้นให้เล่นด้วยความสนุก เห็นคุณค่าจนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด