ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน
การพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อการประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มีภารกิจในการประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศครอบคลุมทุกระดับและประเภทการศึกษา มาตรการสำคัญของการประเมินผล คือ ตัวชี้วัดและฐานข้อมูล
การพัฒนา/ปรับปรุงตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตามกรอบนโยบายของชาติ เพื่อเป็นกรอบ/แนวทางในการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาในภาพรวม รวมทั้งใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาระบบคลังข้อมูลสารสนเทศ โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้
ปี | การดำเนินงาน | ผลผลิต |
ปี ๒๕๕๑ | พัฒนากรอบตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลการจัดการศึกษา ใน ๕ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านความครอบคลุมทั่วถึงและเพียงพอ (coverage and adequacy) ๒) ด้านความเสมอภาคและเป็นธรรม (equality and equity) ๓) ด้านคุณภาพการศึกษา (quality) ในเชิงผลสัมฤทธิ์ ๔) ด้านประสิทธิภาพ (efficiency) และ ๕) ด้านประสิทธิผล (effectiveness) |
click ดู “รายงานการออกแบบและพัฒนาระบบข้อมูลและระบบการประมวลผลข้อมูลสำหรับการประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ” |
ปี ๒๕๕๓ | ปรับปรุงและจัดทำเป็นคู่มือ/พจนานุกรมตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลการจัดการศึกษา | Click ดู “พจนานุกรมตัวชี้วัดการประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ” |
ปี ๒๕๕๔ | จัดทำเกณฑ์การประเมินผลตามกรอบตัวบ่งชี้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง | Click ดู “ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง” |
ปี ๒๕๕๘ | จัดทำตัวบ่งชี้การประเมินผลการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๙ | Click ดู “(ร่าง)กรอบการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา” |