การศึกษาแนวโน้มความต้องการกำลังคนโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน
ปีที่พิมพ์ : 2563
ISBN : 978-616-270-236-5
โครงการศึกษาแนวโน้มความต้องการกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) เป็นโครงการซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษาวิจัย โดยมีเป้าหมายเพื่อนำผลไปใช้ในเชิงนโยบายการเตรียมการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศโดยคำนึงถึงศักยภาพและความแตกต่างของพื้นที่ วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ที่สำคัญ 2 ประการคือ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันในด้านตลาดงาน และศักยภาพของกำลังคนโดยคำนึงถึงความแตกต่างของพื้นที่ใน 18 กลุ่ม จังหวัด 6 ภาค โดยแบ่งกลุ่มจังหวัดและภาคตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และ 2) เพื่อสำรวจความต้องการกำลังคนตามศักยภาพของพื้นที่และช่องว่างของทักษะกำลังคน (Skill Gap) ในแต่ละพื้นที่ ประกอบกับวิธีการศึกษาครอบคลุมทั้งการวิจัยเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก และมีการวิจัยภาคสนาม จากการสอบถาม สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม (Focus Group) คณะวิจัยได้ออกแบบโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการวิเคราะห์แบบสหวิชาการทั้งด้านการวิจัยอนาคต ด้านเศรษฐศาสตร์ และการตลาด เพื่อคาดการณ์แนวโน้มความต้องการกำลังคนสำหรับการเตรียมการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศโดยคำนึงถึงศักยภาพและความแตกต่างของพื้นที่
สารบัญ | |
บทที่ 1 บทนำ 1.1 หลักการและเหตุผล 1.2 วัตถุประสงค์ 1.3 คำถามการวิจัย 1.4 ขอบเขตการดำเนินงาน 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6 นิยามศัพท์ บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม 2.1 สถานการณ์ด้านแรงงาน 2.2 แนวทางที่ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาคุณสมบัติแรงงานไม่สอดคล้อง กับความต้องการของตลาดแรงงาน 2.3 ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและปัญหาช่องว่างทักษะในประเทศไทย 2.4 สถานการณ์ด้านความต้องการกำลังคนและปัญหาช่องว่างทักษะ: กรณีศึกษาต่างประเทศ 2.4.1 ประเทศสหรัฐอเมริกา 2.4.2 ประเทศสหราชอาณาจักร 2.4.3 สหภาพยุโรป 2.4.4 ประเทศญี่ปุ่น 2.4.5 ประเทศมาเลเซีย 2.5 สรุปข้อค้นพบจากต่างประเทศ บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย 3.1 วิธีการดำเนินงานและกรอบแนวคิดในการวิจัย 3.1.1 แนวทางการดำเนินงาน 3.1.2 กรอบแนวคิดในการวิจัย 3.2 เครื่องมือในการวิจัย 3.3 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.4 การศึกษาภาคสนาม บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ภาพรวมของประเทศ และผลการศึกษา เชิงลึกใน 6 จังหวัด 4.1 โครงสร้างประชากรไทยกับความท้าทายใน 20 ปี ข้างหน้า 4.2 โครงสร้างตลาดแรงงาน 4.3 ปัญหาช่องว่างทักษะ 4.4 การวางแผนกำลังคน บทที่ 5 สรุปแนวทางการเตรียมกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐานและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการศึกษา 5.2 ข้อสังเกต ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงนโยบายในการผลิตและพัฒนากำลังคน 5.3 ข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิง |