รายงานการวิจัย การออกแบบระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษา
ปีที่พิมพ์ : 2559
ISBN : 978-616-270-112-2
คณะผู้วิจัยได้เสนอแนะระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษาสำหรับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยได้ออกแบบโครงสร้างระบบที่มีขอบเขตครอบคลุม 1) การติดตามและประเมินผลตาม “แผนการศึกษาแห่งชาติ” 2) การติดตามและประเมินผลระบบการศึกษาและ 3) การติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและได้เสนอแนะตัวชี้วัดสำคัญ 27 รายการ นิยาม วิธีการวิเคราะห์ แหล่งข้อมูลและหลักเกณฑ์การประเมินผล นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้เสนอแนะโครงร่างระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการติดตามและประเมินผลโดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 : ระบบประมวลผลข้อมูล (ระยะ 1-3 ปี) และ ระยะที่ 2 : ระบบสารสนเทศกลางเพื่อการติดตามและประเมินผลเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการติดตามและประเมินผลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาต่อไป
สารบัญ | |
คำนำ | |
บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) | |
สารบัญ | |
สารบัญรูป | |
สารบัญตาราง | |
1 บทนำ 1.1 หลักการและเหตุผล 1.2 วัตถุประสงค์ 1.3 ขอบเขตของการดำเนินงาน 1.4 ผลผลิตของโครงการ 1.5 กรอบแนวคิดการศึกษา 1.6 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ |
|
2 หลักการ ทฤษฎี การวิเคราะห์และทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมา 2.1 หลักการติดตามและประเมินผล 2.2 นโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษา 2.3 การวิเคราะห์สถานการณ์การพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย 2.4 การวิเคราะห์บทบาทการติดตามและประเมินผลของหน่วยงานด้านการศึกษา 2.5 ทบทวนผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 1 2.6 การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่เป็นจุดอ่อนของระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย |
|
3 ศึกษาระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษาของต่างประเทศ 3.1 การเปรียบเทียบการพัฒนาการศึกษาตามมาตรฐานนานาชาติ 3.2 ประเทศสิงคโปร์ 3.3 ประเทศฟินแลนด์ 3.4 ประเทศเนเธอร์แลนด์ 3.5 ประเทศแคนาดา 3.6 การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระบบการติดตามและประเมินผลด้านการศึกษาของประเทศต่างๆ |
|
4 ผลการออกแบบระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษา (ร่าง) 4.1 กรอบแนวคิดของระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษา 4.2 คุณลักษณะของระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษา 4.3 ประเด็นที่ได้รับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 4.4 ผลการออกแบบระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษา 4.5 ข้อเสนอแนะหลักการและกรอบแนวคิดของระบบการประกันคุณภาพภายใน การประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา 4.6 ข้อเสนอแนะบทบาท แนวทางและแผนการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ในการขับเคลื่อนให้เกิดระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษา |
|
5 ผลการจัดการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษา 5.1 วัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ 5.2 ประเด็นของการประชุม 5.3 ลำดับการดำเนินรายการการประชุม 5.4 สรุปข้อคิดเห็นจากการประชุม |
|
บรรณานุกรม | |