รูปแบบการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่: บทเรียน ทางเลือก และเงื่อนไขความสำเร็จ
ปีที่พิมพ์ : 2559
ISBN : 978-616-270-114-6
การวิจัย เรื่อง “รูปแบบการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ : บทเรียน ทางเลือก และเงื่อนไขความสำเร็จ” มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและเงื่อนไขความสำเร็จของการบริหารการศึกษาเชิงพื้นที่ กรณีศึกษาต่างประเทศไม่น้อยกว่า 5 ประเทศ และเปรียบเทียบกับประเทศไทยโดยครอบคลุมถึงบทเรียน ปัจจัยและเงื่อนไขความสำเร็จ/ความล้มเหลวของประเทศเป้าหมาย และ 2) เสนอทางเลือกเชิงนโยบายที่สามารถนำไปออกแบบระบบการบริหารการศึกษาเชิงพื้นที่ต่อไปในอนาคตโดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การศึกษาทฤษฎี การวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์ focus group และกระบวนการกลุ่ม จากนั้นจึงวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยเปรียบเทียบกับประเทศไทย
สารบัญ | |
คำนำ | |
บทสรุปผู้บริหาร | |
แผนภาพสรุปภาพรวมของงานวิจัย | |
สารบัญ | |
สารบัญตาราง | |
สารบัญภาพ | |
บทนำ | |
บทที่ 2 เอล ซัลวาดอร์ รัฐที่อ่อนแอ ประชาชนจึงต้องเข้มแข็ง | |
บทที่ 3 นิคารากัว การมีส่วนร่วมคือปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จ | |
บทที่ 4 กัมพูชา การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ พร้อมกับการปฏิรูปการศึกษาภาพรวม | |
บทที่ 5 ญี่ปุ่น การมีส่วนร่วมแนวระนาบ การประเมินที่ดี และการส่งเสริมความเป็นธรรม | |
บทที่ 6 แคนาดา ยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยทุนทางวิชาชีพและการเข้าใจบริบททางเศรษฐกิจการเมือง | |
บทที่ 7 ประเทศไทย การกระจายบทบาทการจัดการศึกษาก่อนการปรับโครงสร้างปี 2016 | |
บทที่ 8 ประเทศไทย ข้อเสนอการพัฒนาการศึกษาเชิงพื้นที่ และการปรับโครงสร้างในปี 2016 | |
ภาคผนวก ก แผนการลงพื้นที่วิจัยภาคสนาม | |
ภาคผนวก ข วิธีการคำนวณ Human Achievement index (HAI) | |
ภาคผนวก ค สรุปบทบาทผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ต่อการศึกษาเชิงพื้นที่ในไทย | |
ภาคผนวก ง อุปสรรคและทางแก้ ข้อเสนอจากเวทีสัมมนา 4 ภาค | |
บรรณานุกรม |