การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุเพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังคนรองรับโลกศตวรรษที่ 21
ปีที่พิมพ์ : 2559
ISBN : -
กระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ ๒๑ มีความก้าวหน้าในทุกมิติอย่างรุนแรงและรวดเร็วส่งผลต่อวิถีการดำรงชีวิตของคนในสังคมอย่างทั่วถึง ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนากำลังคนของประเทศให้สามารถรองรับผลจากการเปลี่ยนแปลงได้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตระหนักและเห็นความสำคัญในการสร้างและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีทักษะการเรียนรู้ และเตรียมการพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมโลก โดยได้มีการศึกษาและทำการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินสมรรถนะผู้ใหญ่ที่เทียบเคียงกับกรอบการประเมินผลทางการศึกษาระดับนานาชาติด้านสมรรถนะผู้ใหญ่ (Programme for the International Assessment of Adult Competencies :PIAAC) ซึ่งกำหนดสมรรถนะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับกำลังแรงงานในทุกสาขาอาชีพ ๓ ด้าน คือ การรู้หนังสือ (Literacy)และความสามารถในการอ่าน (Reading Component Skills) ความสามารถในการคิดคำนวณ (Numeracy) และความสามารถในการแก้ปัญหาภายใต้สภาพแวดล้อมที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี (Problem Solving in Technology-rich environments) ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ และต่อเนื่องในปี ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุเพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังคนรองรับโลกศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งการดำเนินงานครั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยมี รศ.ดร.รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์ และคณะ เป็นผู้ดำเนินการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาขอขอบคุณคณะนักวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างกำลังคนเข้าสู่อาชีพ และการวางแผนเพื่อเตรียมการพัฒนากำลังคนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
สารบัญ | |
บทสรุปผู้บริหาร | |
สารบัญตาราง | |
สารบัญภาพ | |
บทที่ 1 บทนำ | |
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง | |
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย | |
บทที่ 4 ผลการวิจัย | |
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ | |
บรรณานุกรม | |
ภาคผนวก | |