กรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
ปีที่พิมพ์ : 2558
ISBN : -
เอกสารกรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ มีแนวคิดบนพื้นฐานของนโยบายด้านการศึกษาของรัฐและเจตนารมณ์ ของกระทรวงศึกษาธิการและนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์พิจารณาความสอดคล้องกับรายงานติดตามผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) รายงานผลการประชุม “การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย” นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555 – 2559) และกรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ (พ.ศ. 2555-2558)เพื่อให้ได้กรอบและทิศทาง การวิจัยทางการศึกษาพร้อมประเด็นและหัวข้อการวิจัย สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาและผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ เพื่อปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ บนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมจากการวิจัย ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสังคมฐานความรู้และสังคมเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมที่สร้างสรรค์และมีความเข้มแข็งของประเทศ
สารบัญ | |
คำนำ | |
ส่วนที่ 1 ความเป็นมา | |
ส่วนที่ 2 สาระสำคัญของกรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษา กรอบวิจัยที่ 1: ปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบและการศึกษาทางเลือกเพื่อสร้างสังคมให้เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพและคุณธรรม กรอบวิจัยที่ 2: เพิ่มโอกาสทางการศึกษา และยกระดับมาตรฐานการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย กรอบวิจัยที่ 3: พัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยให้เหมาะกับความต้องการของพื้นที่ และการจ้างงานในอนาคต กรอบวิจัยที่ 4: ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง กรอบวิจัยที่ 5: ปฏิรูปคุณภาพของความเป็นครู กรอบวิจัยที่ 6: พัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ กรอบวิจัยที่ 7: สนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก กรอบวิจัยที่ 8: วิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กรอบวิจัยที่ 9: พัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ |
|
คณะผู้จัดทำ | |