รายงานการวิจัยและพัฒนา การส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและ บุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะการคิด ในจังหวัดอุบลราชธานี ระยะที่ 2
ปีที่พิมพ์ : 2554
ISBN :
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครู บุคลากรทางการศึกษาและสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน(ทักษะการคิด) โดยเป็นการวิจัยต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ที่ได้พัฒนาเครือข่ายและนวัตกรรมการบริหารจัดการเครือข่าย รวมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมเครือข่ายมาแล้ว ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยหน่วยงาน 3 ระดับ คือ คณะครุศาสตร์ (คณาจารย์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ศึกษานิเทศก์) และโรงเรียน (ผู้บริหารสถานศึกษาและครู) ในเขตพื้นที่การศึกษา เขตละ 1 โรงเรียน ในระยะที่ 2 นี้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะการคิด 3 ด้าน คือ การคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แบบ 3 P คือ การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Base) การใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base) และการใช้ผลิตภาพ เป็นฐาน (Product Base) ซึ่งมีรูปแบบการบริหารเครือข่ายมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย แบบ TCID ประกอบด้วย การร่วมคิด (Think Together : T) การร่วมสร้าง (Construction Together : C) การร่วมปรับปรุง (Improvement Together : I) และการร่วมพัฒนา (Developing Together : D) กระบวนการที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศแบบกัลยาณมิตร และการจัดการความรู้ ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 มีการเก็บรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็นของครู คุณภาพผู้เรียน (ทักษะการคิด) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย
|
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร |
บทที่ 1 บทนำ |
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย |
บทที่ 4 ผลการวิจัย |
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ |
บรรณานุกรม |
ภาคผนวก |
|