โครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ปีที่พิมพ์ : 2554
ISBN :
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในระยะที่ 1 เพื่อแสวงหาคำตอบว่าปัจจัย บริบท และเงื่อนไขใดบ้าง ที่จะทำให้เกิดการสร้าง และพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้มีความเข้มแข็ง และยั่งยืน และรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่เข้มแข็งทั้งโครงสร้างการบริการจัดการ บทบาทหน้าที่ กิจกรรม การดำเนินงาน ตลอดจนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำมาใช้จะเป็นอย่างไร นอกจากนั้นยังต้องการหาคำตอบว่า แผนการดำเนินงานของเครือข่ายการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง ควรจะมีแผนสู่ การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างไร ข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะนำไปใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาในแต่ละพื้นที่ให้มีศักยภาพ ในการแสวงหานวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีคุณภาพต่อไปในระยะที่ 2 ซึ่งผลการวิจัยจะนำไปสู่การปฏิบัติทั้งในระดับนโยบาย ระดับพื้นที่การศึกษาจนถึงระดับสถานศึกษา เป้าหมายสำคัญคือการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผู้เรียนตามาตรฐานชาติ เพื่อการแข่งขันในระดับสากลต่อไป นอกจากนั้นกระบวนการวิจัยในครั้งนี้ ยังเป็นการร่วมมือระหว่างเครือข่ายการวิจัยในท้องถิ่นกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งยังเป็นการสร้างความเข้มแข็ง ในการวิจัยให้กับบุคลากร สถาบัน และองค์กรในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
|
บทที่ 1 บทนำ |
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย |
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน |
บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ |
บรรณานุกรม |
ภาคผนวก |